ขั้นตอนการจัดฟัน เมื่อเราเห็นว่าการจัดฟันนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับเรา สิ่งต่อไปที่เรามักจะต้องการทราบก็คือ การจัดฟันนั้น จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง แน่นอนว่า การจัดฟันนั้นมีขั้นตอนหลากหลาย และใช้เวลานาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เราสามารถแบ่งการจัดฟันออกได้เป็น 3 ขั้นตอนคือ ขั้นการเตรียมตัวก่อนการจัดฟัน ระหว่างการจัดฟัน และหลังการจัดฟัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ขั้นตอนของการเตรียมตัวก่อนการจัดฟันในขั้นตอนนี้จะเริ่มจากให้ทันตแพทย์เฉพาะทางในสาขาของการจัดฟันตรวจฟันโดยละเอียด จากนั้นทันตแพทย์จะวินิจฉัยว่าสามารถจัดฟันได้หรือไม่ หากสามารถทำได้ก็จะพูดคุยกับคนไข้เกี่ยวกับแนวทางในการรักษา ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ทันตแพทย์จะตรวจเช็คสภาพฟันและช่องปากโดยละเอียด พูดคุยเพื่อทำความเข้าใจ ซักประวัติ ประเมินความคาดหวังของคนไข้ และตอบคำถามหากคนไข้มีข้อสงสัย หลังผ่านขั้นตอนนี้คนไข้จะมีความเข้าใจและพร้อมที่จะไปสู้ขั้นตอนต่อไป การบันทึกข้อมูล ในขั้นนี้ คนไข้จะต้องให้ความสำคัญและแจ้งข้อมูลอย่างถูกต้องกับทันตแพทย์ เพราะข้อมูลที่ถูกต้องส่งผลอย่างมากต่อการเลือกแนวทางในการรักษา ในขั้นตอนนี้ จะมีการถ่ายภาพทั้งภายนอกและภายในช่องปาก ทำแบบจำลองฟัน ทั้งแบบพิมพ์ปาก และแบบติจิตอล รวมถึงเอ็กซเรย์ฟันให้เห็นโครงสร้างทั้งหมด เมื่อได้ข้อมูลมา ทันตแพทย์จะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์โดยละเอียด ว่าโครงสร้างกระดูกขากรรไกรเป็นอย่างไร มีฟันคุดหรือไม่ กระดูกเป็นปกติหรือไม่ รากฟันเป็นอย่างไร จากนั้นก็จะวางแผนในการรักษาที่เหมาะสม เมื่อทันตแพทย์วิเคราะห์ข้อมูลแล้วก็จะวางแนงทางในการรักษา ให้ข้อมูลทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้คนไข้ได้เปรียบเทียบและตัดสินใจเลือกเครื่องมือจัดฟันที่เหมาะสมที่สุดขั้นของการจัดฟันเมื่อคนไข้ได้เข้าใจและตัดสินใจเลือกเครื่องมือจัดฟันแล้ว ขั้นการรักษาก็จะเริ่มขึ้น โดยทันตแพทย์จะติดเครื่องมือจัดฟันให้กับคนไข้ และเพื่อให้การรักษาเป็นไปด้วยความราบรื่น ช่วงระหว่างการรักษานี้คนไข้ควรจะต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด มาพบทันตแพทย๋ตรงเวลาตามการนัดหมาย ดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากตามคำแนะนำ เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม และอาจจะต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่างที่อาจส่งผลกระทบ เช่นการเล่นกีฬาที่มีการกระทบกระแทก […]
Monthly Archives: November 2020
ระยะเวลาที่ใช้ในการจัดฟัน สำหรับผู้ที่ต้องการจะจัดฟัน เมื่อได้พบทันตแพทย์ ได้รับการตรวจวินิจฉันแล้วว่าสามารถที่จะจัดฟันได้ สิ่งที่ผู้ต้องการจะจัดฟันต้องการทราบเป็นอันดับต่อไป ก็มักจะเป็นเรื่องของระยะเวลาที่ต้องใช้ในการจัดฟันนั่นเอง เราจะต้องใส่อุปกรณ์จัดฟันไว้ในช่องปากนานแค่ไหน กว่าที่ฟันจะเรียงตังกันอย่างเรียบสวย แน่นอนว่า คำตอบสำหรับคำถามข้อนี้ จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่สถานการณ์และการเลือกชนิดของการจัดฟันของคนไข้แต่ละคนอย่างไรก็ตาม เมื่อคนไข้ถามว่า จะต้องใส่อุปกรณ์จัดฟันไว้นานแค่ไหน ทันตแพทย์สามารถจะตอบสั้นๆ ได้ว่า ขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคน ซึ่งคำตอบสั้น ๆ นีิ้ สามารถขยายความได้ดังนีี้การที่คนไข้จะต้องใส่อุปกรณ์จัดฟันไว้นานแค่ไหนนั้น มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องของอายุคนไข้ ปัญหาฟันที่คนไข้กำลังประสบอยู่ ชนิดอุปกรณ์จัดฟันที่เลือกมาเพื่อใช้ในการรักษา ดังนั้นระยะเวลาที่คนไข้แต่ละคนจะใช้จึงต่างกันไป เพราะคนไข้แต่ละคนก็อยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน และถ้าหากปัญหา หรือความผิดปกติของฟันของคนไข้นั้นมีมาก เช่นมีความผิดปกติของขากรรไกร มีโรคในช่องปาก หรือมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ระยะเวลาในการจัดฟัน ก็อาจจะยาวนานขึ้นไปอีก หลังจากที่ทันตพแพทย์ได้ตรวจเช็คในช่องปาก และประเมินสถานการณ์ของคนไข้แล้ว ทันตแพทย์ส่วนใหญ่ก็จะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลาที่ต้องใช้ในการจัดฟันให้กับคนไข้ได้ รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับกระบวนการรักษาและการดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสมในระหว่างที่จัดฟันด้วย […]
สำหรับผู้ที่มีความคิดว่าจะจัดฟัน สิ่งที่จะต้องทราบในเบื้องต้นก็คือ กระบวนการจัดฟันนั้น คือการทำให้ฟันจัดเรียงตัวอย่างสวยงาม ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีสุขอนามัยในช่องปากที่ดี แต่การจัดฟันต้องใช้อุปกรณ์จัดฟัน ต้องใช้เวลา ใช้งบประมาณเป็นจำนวนไม่น้อย และแน่นอนว่าการจัดฟัน ทำให้การดำเนินชีวิตไม่สะดวกสบายในบางกรณี โดยมากแล้วผู้ที่ต้องการจะจัดฟันมักจะอยู่ในวัยเด็ก วัยรุ่น และวันผู้ใหญ่ในช่วงต้น ๆ ปัจจุบันเราเห็นผู้ใหญ่สนใจจัดฟันกันมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมากและการตัดสินใจว่าจะจัดฟันดีหรือไม่ เราเป็นคนหนึ่งที่สมควรจะต้องจัดฟันหรือไม่นั้น เราควรมีข้อพิจารณาประกอบการตัดสินใจ สำหรับในวัยผู้ใหญ่นั้น ปัจจุบันมีการจัดฟันกันมากขึ้นในทุกช่วงอายุ และผลที่ได้รับก็น่าพึงพอใจนอกจากฟันจะจัดเรียงตัวกันอย่างสวยงาม เพิ่มความมั่นใจแล้ว สุขภาพในช่องปากโดยรวมก็ดีขึ้นด้วย โดยมากแล้ว ผู้ใหญ่ที่มาจัดฟัน จะเป็นกลุ่มที่ต้องการแก้ไขปัญหาดังต่อไปนี้ ว่า ใครบ้างควรจัดฟัน มีปัญหาฟันซ้อนเก หรือฟันเหยินอย่างเห็นได้ชัด ไม่สามารถทำความสะอาดฟัน ทั้งการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันได้อย่างทั่วถึง มีปัญหากับการเคี้ยวอาหาร มักจะพลาดไปกัดลิ้นตนเองในเวลารับประทานอาหารอยู่บ่อย ๆ ฟันสบกันไม่เหมาะสม มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด การออกเสียงให้ชัดเจน […]