รักษารากฟันหรือถอนฟันดีกว่ากัน

รักษารากฟัน

          จะรักษารากฟัน หรือถอนฟันออกไปเลยดี.. แน่นอนว่า ทางเลือกทั้งสองนี้ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากจะเลือก แต่ก็เป็นสิ่งที่เกิดได้กับทุกคนที่มีปัญหาฟันผุลึก หรือเกิดความเสียหายขึ้นกับฟันรุนแรงถึงรากฟัน และเมื่อจะต้องเลือก คนไข้ควรจะได้ทำความเข้าใจกับวิธีการทั้งสองให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจ

การรักษารากฟัน เป็นการรักษาเพื่อที่จะเก็บฟันซี่นั้นเอาไว้

          ในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นกันฟัน และความเสียหายนั้นรุนแรงถึงรากฟัน อย่างเช่น ฟันผุลุก มีโรค ติดเชื้อ หรือฟันตาย วิธีที่จะรักษาเพื่อเก็บฟันซี่นั้นเอาไว้ก็คือ การรักษาราก ซึ่งทันตแพทย์มีวิธีการคือ ให้ยาชา หรือยาระงับความเจ็บปวด จากนี้นก็จะใช้เครื่องมือทันตกรรมเจาะเข้าไปในฟัน เพื่อเปิดเข้าไปยังรากฟันและทำการรักษา ด้วยการนำเนื้อเยื่อที่มีความเสียหาย หรือติดเชื้อออก ทำความสะอาด ใส่ยา และอุดดัวยวัสดุทางทันตกรรมเพื่อป้องการการติดเชื้อซ้ำ จากน้นก็จะทำครอบฟัน เพื่อเสริมความแข็งแรง ให้สามารถใช้ฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          การถอนฟัน เป็นการรักษาด้วยการถอนฟันซี่ที่มีปัญหานั้นทิ้งไป ไม่ต้องการจะเก็บฟันซี่นั้นเอาไว้อีก
          เมื่อจะต้อถอนฟัน ทันตแพทย์จะให้ยาชา เพื่อระงับความเจ็บปวด ในบริเวณที่ซี่ฟันที่จะถอนออก จากนั้นทันตแพทย์ก็จะใช้เครื่องมือที่ทำให้ฟันหลวมและดึงฟันออกจากกระดูกขากรรไกร ในระหว่างการถอนฟันนั้น คนไข้จะรู้สึกถึงแรงกด ได้ยินเสียงเครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งอาจจะทำให้รู้สึกเครียด แต่จะไม่มีความเจ็บปวดในระหว่างกระบวนการถอนฟันนั้น
          เมื่อฟันซี่ที่เป็นปัญหานั้นถูกถอนออกไปแล้ว จะมีเลือดออก ดังนั้นคนไข้จะต้องกัดผ้าก็อชที่ทันตแพทย์ใช้อุดเลือดไว้อีกระยะหนึ่ง ประมาณ 30-45 นาที นอกจากนั้นอาจจะมีอาการปวด บวม ซึ่งสามารถรับประทานยาแก้ปวด และใช้น้ำแข็งประคบได้ ในช่วง 24-48 ชั่วโมงหลังจากที่ถอนฟันออกไป และอาการต่าง ๆ จะดึขึ้นใน 2-3 วัน
สำหรับการรักษาด้วยการถอนฟัน เมื่อแผลสมานกันดีแล้ว คนไข้จะต้องทำฟันปลอมขึ้นมาทดแทนฟันซี่ที่ถอนออกไป เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ฟันซี่อื่น ๆ เคลื่อนเข้ามาในช่องว่างที่เกิดจากการถอนฟันออก จนเกิดเป็นปัญหาฟันล้ม และในบางกรณีช่องว่างระหว่างซี่ฟันนั้น ยังส่งผลต่อการพูด และการเคี้ยวอาหารอีกด้วย ฟันปลอมทดแทนจึงเป็นสิ่งจำเป็น

          อย่างไรก็ตาม แม้การทำฟันปลอมทดแทนฟันที่สูญเสียไปจะเป็นเรื่องง่ายในปัจจุบัน แต่ฟันปลอมเหล่านั้นก็ไม่สามารถเทียบเท่ากับฟันธรรมชาติได้ และแผลจากการถอนฟัน ก็สร้างความเจ็บปวดให้กับคนไข้ ดังนั้น ทันตแพทย์จึงมักจะแนะนำทางเลือกในการถอนฟันเป็นทางเลือกสุดท้ายให้กับคนไข้ แต่ทั้งนี้ก็มีปัญหาฟันและสถานการณ์บางอย่าง ที่ต้องแก้ไขด้วยการถอนฟัน

          การถอนฟัน และการรักษารากฟันนั้น ต่างก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย พิจารณาได้ในประเดฺ็นต่าง ๆ ดังนี้

ระหว่างการถอนฟัน

          ในกระบวนการถอนฟันนั้น คนไข้จะไม่ได้รับความเจ็บปวดเพราะทันตแพทย์ให้ยาชา ก่อนที่จะลงมือถอนฟันซี่ที่เป็นปัญหาออก เครื่องมือที่ใช้ในการถอนก็เป็นเครื่องมือทันตกรรมที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ การถอนฟันจึงใช้เวลาไม่นาน หากไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่หลังการถอน และยาชาหมดฤทธิ์ คนไข้จะรู้สึกปวด และต้องใช้เวลา 2-3 วันกว่าแผลจะสมานกัน

การถอนฟันมีความเสี่ยงหรือไม่


          แน่นอนว่าการถอนฟันนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดการติดเชื้อ เพราะเมื่อฟันถูกถอนออกไปจากกระดูกขากรรไกรแล้ว จะเกิดช่องว่าง มีเลือดออก แบคทีเรียในช่องปากก็อาจะก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ และเชื้อก็สามารถกระจายได้ นอกจากนั้น ช่องว่างที่เกิดจากการถอนฟัน ก็ส่งผลกระทบต่อฟันข้างเคียง ซึ่งจะมีการเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม ไปยังช่องว่าง ทำให้ฟันห่าง ฟันเรียงตัวไม่สวย และเกิดปัญหาฟันล้มได้

หลังถอนฟันออกไปแล้วต้องดูแลอย่างไร


          เมื่อยาชาหมดฤทธิ์ คนไข้จะปวด จึงต้องรับประทานยาแก้ปวด และยังต้องรับประทานอาหารอ่อน เป็นเวลา 1-2 วัน หรือจนกว่าแผลจะหายดี เพราะหากไม่ระมัดระวังเรื่องอาหาร และไม่รักษาความสะอาดให้ดีพอ ก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้

ค่าใช้จ่ายในการถอนฟัน


          หากการถอนฟันนั้น ไม่ยาก ไม่มีความซับซ้อน หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน ก็นับว่าค่าใช้จ่ายในการถอนฟันนั้น น้อยกว่าการรักษารากฟัน และการถอนฟันก็สามารถทำให้เสร็จได้ในการมาพบทันตแพทย์เพียงครั้งเดียว แต่หากต้องการทำฟันทดแทนฟันที่ถอนออก ก็จะมีค่าใช้จ่ายในเรื่องดังกล่าว ซึ่งก็จะมีทางเลือกอีกหลายทาง ทั้งฟันปลอมติดแน่น ฟันปลอมถอดได้ สะพานฟัน และรากเทียม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป

ในการรักษารากฟัน แน่นอนว่า จะเป็นการรักษาที่อาจจะทำให้คนไข้รู้สึกเจ็บปวด แต่ทันตแพทย์ก็จะใช้ยาชาเพื่อช่วยระงับความรู้สึก ในการรักษาราก จะต้องมีการตรวจเช็คฟัน เอ็กซเรย์ จากนั้นจึงเจาะฟัน เพื่อนำเอาเนื้อเยื่อที่เสียหายออก ก่อนจะทำความสะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อและอุดปิด และทำครอบฟัน

การรักษารากฟันมีความเสี่ยงหรือไม่


          แน่นอนว่า การรักษารากฟัน มีความเสี่ยงเพราะต้องเจาะฟันเข้าเพื่อเข้าถึงเนื้อเนื้อเยื่อภายในรากฟัน กระบวนนี้ อาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อผิวฟัน และยังมีโอกาสที่จะเกิดการติดเชื้อขึ้นมาได้
ต้องดูแลอย่างไรหลังการรักษารากฟัน
ในช่วงแรกอาจจะต้องรับประทานอาหารอ่อนสัก 1-2 วัน และอาจจะเกิดอาการปวดได้ แต่สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของทันตแพทย์

ค่าใช้จ่ายในการรักษารากฟัน


          ในการรักษารากฟันนั้น คนไข้จะต้องมาพบทันตแพทย์อย่างน้อย 2 ครั้ง และแน่นอนว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษารากฟันนั้น สูงกว่าการถอนฟันออกไป อีกทั้งคนไข้ ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำครอบฟัน เพื่อเสริมให้ฟันที่ถูกเจาะนั้น มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะรับแรงกด จากการกัด บดเคี้ยว

ทั้งนี้ การจะตอบคำถามที่ว่า ระหว่างการรักษารากฟัน กับการถอนฟันนั้น วิธีไหนดีกว่ากัน จึงต้องพิจารณารายละเอียดของปัญหาฟัน สถานการณ์ของคนไข้ รวมทั้งความต้องการและความพร้อมของคนไข้อีกด้วย

ย้อนกลับด้านบน